สุขอนามัยที่ดี เป็นเรื่องที่ถูกให้สำคัญโดยสภาท่อประปาโลก (World Plumbing Council) จึงได้ริเริ่ม วันท่อประปาโลก (World Plumbing Day) ซึ่งเป็นวันสำคัญ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของท่อประปาหรือท่อน้ำที่ช่วยให้ชีวิตของทุกคนมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น ทั้งยังสะดวกสบายอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
วันท่อประปาโลก (World Plumbing Day) มีกิจกรรม การแข่งขัน การสัมมา เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างระบบประปาคุณภาพดี สุขภาพ ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ผู้คนจากภายในและภายนอกสมาคมประปามารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้ แบ่งปันความรู้ สร้างสายสัมพันธ์ และหาโอกาสในการทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพและการเข้าถึงน้ำจืดและสุขอนามัยที่ปลอดภัย
รู้หรือไม่ วันท่อประปาโลก (World Plumbing Day) ที่ถูกริเริ่มโดยสภาท่อประปาโลก (World Plumbing Council) ตรงกับวันที่ 11 มีนาคมของทุกปี แล้วคุณสงสัยหรือไม่ว่า
จุดเริ่มต้นของท่อประปาในประเทศไทย มีที่มาที่ไปอย่างไร
ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับต้นกำเนิดระบบประปาแห่งแรกในประเทศไทย มีมาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย โดยการกักเก็บน้ำไว้ใช้กลางใจเมือง ดังคำจารึกในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ด้านที่ 2 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงจารึกว่า "...กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตระพังโพย สีใสกินดี ...ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง รอบเมืองสุโขทัยนี้..." อนึ่งคำว่า "ตระพังโพย" มีความหมายว่า บ่ออัศจรรย์เข้าใจได้ว่าบ่อนี้มีน้ำใช้ได้ ตลอดปี และยังค้นพบ ท่อน้ำดินเผาเคลือบฝังอยู่ใต้ดิน ปากกว้าง ปลายสอบ ซึ่งสันนิษฐานว่าใช้กรองน้ำให้สะอาดโดยผ่านเส้นท่อ
นับจากนั้น เมื่อมีการสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ พระเจ้าอู่ทอง ก็ทรงโปรดให้สร้างคูคลอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ในการใช้น้ำอุปโภคและบริโภคอีกประการหนึ่ง
เมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงพิจารณาเรื่องน้ำบริโภคเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก โปรดเกล้าให้มีการดำเนินการขุดทำนบกั้นน้ำในทะเลชุบศร สร้างเป็นเขื่อนเก็บน้ำฝนไว้ใช้ตลอดปี มีการวางท่อประปาดินเผาจากทะเลชุบศรไปสู่สระที่พักน้ำมีชื่อว่า สระแก้ว 2 แห่ง แล้ววางท่อประปาขนาดใหญ่เข้าสู่เมืองลพบุรีแจกจ่ายไปตามสถานที่ สำคัญ ๆ เช่น พระราชวังบ้านหลวงรับราชฑูต วัดในพระพุทธศาสนา และโรงทาน สำหรับประชาชน เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏ จึงพอสรุปได้ว่า วิวัฒนาการในการจัดวางระบบท่อประปา ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป ปีพุทธศักราช 2440 ได้มีพระราชดำริ การหาน้ำบริโภคสำหรับประชาชน เพื่อให้บรรดาพสกนิกรของพระองค์มีความเป็นอยู่อย่างถูกสุขลักษณะ ปราศจากโรคภัยร้ายแรง น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่เหมาะสำหรับการบริโภค และน้ำก็มีแนวโน้มที่จะทวีความสกปรกเพิ่มขึ้นในอนาคต ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้น เพื่อจัดทำน้ำประปาให้ประชาชนใช้
ประมาณปีพุทธศักราช 2456 กรุงเทพฯ ได้วางระบบท่อประปาเป็นท่อคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.10 เมตร จากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ท่าน้ำสามเสน มาตามถนนนครไชยศรี มายังถนนคันคลองประปา ข้างโรงกรองน้ำสามเสน ไว้นำน้ำจากแม่น้ำมาใช้เมื่อเวลาฉุกเฉิน เมื่อคลองส่งน้ำจากเชียงรากชำรุด หรือ หยุดซ่อมแซม เช่นซ่อมท่อไซฟอนหรือท่อลอด และหยุดซ่อมคลองที่เชียงราก เป็นต้น จะได้มีน้ำใช้ 2 ทาง คงสูบน้ำได้เสมอ เป็นที่น่าเสียดายในเวลาต่อมาระบบประปานี้ชำรุดเสียหาย และเลิกใช้ไป
ยังคงมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับวิวัฒนาการระบบท่อประปาที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ต่อมา อีกหลายเรื่องราว มีการนำเทคโนโลยีและสารเคมีจากต่างประเทศมาช่วยทำให้ระบบท่อประปาให้ดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น และรองรับปริมาณการใช้งานได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศไทยที่มีระบบท่อประปา เชื่อได้เลยว่าทุกประเทศย่อมมีการสร้างระบบท่อประปาอย่างแน่นอน ดังนั้นวันท่อประปาโลก (World Plumbing Day) นั้นเป็นจึงเป็นวันสำคัญสากลครับ
อ้างอิง
{getButton} $text={การประปาส่วนภูมิภาค ประวัติ กปภ.} $icon={link} $color={Hex Color}{getButton} $text={SILPA-MAG “ท่อประปาดินเผา” เมืองลพบุรี สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ต้นกำเนิดการประปาสยาม?} $icon={link} $color={Hex Color}{getButton} $text={บ้านและสวน ระบบท่อประปา ที่เก่าที่สุดในกรุงสยาม} $icon={link} $color={Hex Color}{getButton} $text={อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย ท่อน้ำดินเผาโบราณ} $icon={link} $color={Hex Color}{getButton} $text={The World Plumbing Council (WPC) WORLD PLUMBING DAY – MARCH 11} $icon={link} $color={Hex Color}