ท่ามกลางสภาพอากาศแปรปรวนไปทั่วโลก ทุกวันนี้ประชาชนในหลายประเทศประสบกับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ อาทิ พายุลูกเห็บ พายุฝนฟ้าคะนอง พายุฤดูหนาว พายุไต้ฝุ่น พายุเฮอริเคน พายุไซโคลน พายุทอร์นาโด คลื่นความร้อน (Heat Wave) ตลอดจนเหตุการณ์แผ่นดินไหว
ด้วยอากาศสามารถเคลื่อนที่ได้เป็นพันๆ กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูง ดังนั้นการตรวจเฝ้าติดตามลมฟ้าอากาศจะต้องดำเนินการเป็นบริเวณกว้างในเวลาเดียวกัน กล่าวคือต้องทำการตรวจพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลกเพื่อที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์สภาพอากาศได้อย่างถูกต้อง จึงมีการก่อตั้ง องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ขึ้นมา ในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1873 และวันในวันเดียวกันนี้เองยังเป็น วันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day) อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของ วันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day)
เพื่อลดผลกระทบของภัยธรรมชาติที่จะมีต่อชีวิต ทรัพย์สิน เศรษฐกิจและสังคมของชาติ รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกให้บรรลุเป้าหมายแห่งความสําเร็จต่อไป
กิจกรรม วันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day) ในประเทศไทย
หลักๆ ดำเนินการโดยกรมอุตุนิยมวิทยา มีการเสวนาวิชาการและร่วมสนุกชิงรางวัลในกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวดภาพถ่ายพร้อมแคปชั่นโดนๆ การประกวดสื่อวิดีทัศน์ และกิจกรรมประกวดผู้ประกาศข่าวอากาศ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา
ภัยธรรมชาติ (Natural Disasters) มีอะไรบ้าง
ภัยธรรมชาติเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป บ้างก็ร้ายแรงน้อย บ้างก็ร้ายแรงมาก ซึ่งภัยธรรมชาติอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 9 หมวด
วาตภัย
ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก พายุลมแรง
อุทกภัย
ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ ส่งผลทางอ้อมในหลายๆ ด้านเช่น ผักแพง เพราะน้ำท่วมแหล่งเพาะปลูกพืชผักหลายจังหวัด
ทุกขภิกขภัย
ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจาก ฝนแล้ง ไม่ตกตามฤดูกาล
พายุฝนฟ้าคะนอง
ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง
คลื่นพายุซัดฝั่ง
ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง ส่งผลทางอ้อมในหลายๆ ด้านเช่น ปลาและปลาหมึกราคาแพงขาดตลาดเนื่องจากคลื่นลมแรงชาวประมงงดออกเรือ
แผ่นดินไหว
ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานใต้พิภพ ทำให้เกิดภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดสึนามิ แผ่นดินเลื่อน ถล่ม และเกิดจากมนุษย์ เช่นระเบิดนิวเคลียร์
แผ่นดินถล่ม
การเกิดแผ่นดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยาก บางกรณีอาจเกิดจากแผ่นดินไหว
การสังเกตก่อนเกิดดินถล่ม
- น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่นแสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
- เวลาฝนตกนาน ๆ จะมีเสียงดังเหมือนตอนมีน้ำป่ามา ต้นไม้ล้มหรือก้อนหินกลิ้งดังครืน ๆ ถ้ามีเสียงนั้นจริง ๆ แสดงว่าดินจะถล่มลงมา
- ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันหรือดินบนลาดเขาเป็นดินร่วนและมีความลาดชัน มาก ๆ
ไฟป่า
ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นส่วนมาก ได้แก่การเผาหาของป่า เผาทำไร่เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง
สึนามิ
การเกิดคลื่นสึนามิมีหลายสาเหตุ ที่สำคัญและเกิดบ่อยๆคือเกิดจากการเคลื่อนตัวของพื้นทะเลใน
แนวดิ่งจมตัวลงตรงแนวรอยเลื่อนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือการที่มวลของน้ำ ถูกแทนที่ทางแนวดิ่งของแผ่นดิน
ผลกระทบของพายุหมุนเขตร้อนที่มีต่อประเทศไทย
1. ต้นไม้ล้มถอนรากถอนโคน เรือกสวน ไร่นาเสียหาย เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช๊อต อาจเกิดเพลิงไหม้ได้
2. บ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพังทลาย ชิ้นส่วนของบ้านถูกลมพายุพัดปลิวเป็นอันตรายต่อผู้ที่อยู่ในที่โล่งแจ้ง บ้านเรือน และผู้คนที่พักอาศัยริมทะเลอาจถูกคลื่นใหญ่ซัดและม้วนลงทะเล
3. ฝนตกหนักมากทั้งวันทั้งคืน จนทำให้เกิดน้ำป่าและแผ่นดินถล่ม
4. ในทะเลมีคลื่นลมแรงจัดมากเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ โดยเฉพาะเรือเล็กและอาจมีคลื่นใหญ่ซัดชายฝั่ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากจนท่วมอาคารบ้านเรือนริมทะเลได้
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสภาพอากาศเป็นปัจจัยทางตรง-ปัจจัยทางอ้อม ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเรา เพราะสภาพอากาศอยู่รอบตัวเรา “องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก” (WORLD METEOROLOGICAL ORGANIZATION - WMO) ได้กําหนดให้วันที่ 23 มีนาคมของทุกปี เป็น วันอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Day)
อ้างอิง
- พายุหมุนเขตร้อนที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย
https://www3.tmd.go.th/info/%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 - ภัยธรรมชาติ (Natural Disasters)
https://earthquake.tmd.go.th/documents/file/seismo-doc-1404601916.pdf - วันที่ 23 มีนาคม ของทุกปี วันอุตุนิยมวิทยา
https://www.onep.go.th/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-23-%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%B5-%E0%B8%A7/ - 23 มีนาคม วันอุตุนิยมวิทยาโลก
https://tmd.go.th/warning-and-events/special-events/worldmetday - ฝนตกหนัก-น้ำท่วม ราคาผักภาคอีสานหลายชนิดแพงขึ้น 2 เท่า
https://www.thaipbs.or.th/news/content/320543 - แม่ค้าโอดพิษน้ำท่วมหนักทำผักแพงสุดในรอบ 10 ปี บางชนิดราคาพุ่งกว่า 2 เท่า ซ้ำ ปชช.ไร้กำลังซื้อ
https://mgronline.com/local/detail/9650000099777 - คลื่นอ่าวไทยแรงปลาราคาแพงขาดตลาด
https://www.posttoday.com/politics/273190 - Global Observing System
https://public.wmo.int/en/programmes/global-observing-system